Talk
December 17, 2018

เทคโนโลยีและการออกแบบ

บันทึกจากมุมมองของนักออกแบบที่ใข้เทคโนโลยีมาช่วยและพัฒนากระบวนการออกแบบ ภายในงานสัมนา M>O>V>E> เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562

เทคโนโลยีและการออกแบบ

บันทึกจากมุมมองของนักออกแบบที่ใข้เทคโนโลยีมาช่วยและพัฒนากระบวนการออกแบบ ภายในงานสัมนา M>O>V>E> เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562

หากจะเปรียบงานออกแบบในทุกวันนี้ นอกจากความสวยงามในเชิงทฤษฎีงานออกแบบยังสิ่งที่สำคัญที่เราไม่ควรจะมองข้ามเลยคือการบริหารจัดการกับข้อมูลที่หลากหลายก่อนนำมาสู่กระบวนการออกแบบ ในยุคที่เทคโนโลยีมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ การเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีให้ถูกวิธีช่วยทำให้ทักษะในการสื่อสารหรือการจัดการข้อมูลนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เวลาเป็นตัวแปรสำคัญที่ทุกคนมีร่วมกัน ในหนึ่งวันเราอาจใช้เวลาไม่เท่ากัน ในมุมมองของการจัดการเวลาและการฝึกฝนทักษะเพื่อความแม่นยำในการทำงานออกแบบ หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็จะมีความคล้ายคลึงกับนักกีฬาอีสปอร์ต เกมคอมพิวเตอร์ สำหรับคนทั่วไปอาจมองว่าเป็นซอฟท์แวร์ที่ใช้เพื่อให้ความบัญเทิงในกิจกรรมระหว่างเพื่อนฝูงและครอบครัว ในระดับองค์กรมีการใช้เกมส์ในการสร้างความสามัคคี หากเรามองเป็นอาชีพ ทุกๆจังหวะในการเล่นเกมได้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อให้นักกีฬาได้ฝึกฝนให้เกิดความแม่นยำมากที่สุด การพัฒนาทักษะเพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดที่น้อยที่สุดและการสื่อสารกับเพื่อนร่วมทีมอาจส่งผลถึงชัยชนะในการแข่งขัน แต่ทว่าเป็นมนุษย์ย่อมมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ การฝึกฝนสภาพจิตใจและร่างกายเพื่อให้ทีมได้บรรลุเป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก

สำหรับการทำงานร่วมกันเป็นทีมผู้บรรยายได้พูดถึงกรณีศึกษาเพื่อการจัดการภายในสตูดิโอออกแบบ ในที่นี้กล่าวถึง สตูดิโอ คราฟส์แมนชิพ ซึ่งแบ่งออกมาเป็นเรื่องต่างๆดังนี้

ปัญหาเล็ก เท่ากับ ปัญหาใหญ่

การมองให้ทุกอย่างที่ก่อให้เกิดความผิดพลาด หากเราให้ความสำคัญปัญหาเล็กๆที่สามารถเกิดขึ้นในกรณีการทำงานเป็นทีม จะต้องมีจุดร่วมบางอย่างที่ทำให้งานไม่สะดุด ผู้บรรยายยกตัวอย่างการตั้งชื่อของไฟล์ แต่ละคนจะมีวิธีการจัดการไฟล์ไม่เหมือนกัน บางคนไม่ใช้งานก็ลบทิ้งบ้าง ไม่ตั้งชื่อให้ชัดเจนบ้าง หากเราทำงานอยู่เพียงคนเดียวเราอาจจะรู้ที่อยู่หรือจำได้จากชื่อ เมื่อเราต้องการกลับไปหาไฟล์ใหม่ก็จะทำได้ง่าย การย้อนกลับมาหาไฟล์งานเก่าๆ อาจจะเป็นปัญหาได้ในกรณีที่เราทำงานกันเป็นทีม นอกจากขนาดของพื้นที่เก็บงานก็จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณงานของเรา การกำหนดชื่อไฟล์ให้เรียบร้อยและเป็นระบบก็จะช่วยทำให้เกิดความราบรื่นในการทำงาน

หาความเป็นไปได้ หลงไหลในสิ่งที่ทำ และสำรวจตัวเอง

ในการทำงานมักจะมีปัญหาคอยให้เราต้องแก้ไขอยู่เสมอ การหาความเป็นไปได้ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่ช่วยให้เรารู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ตรงไหนของกระบวนการ ในบางครั้งงานออกแบบที่เราทำอยู่อาจจะเป็นงานใหม่ที่เราไม่เคยทำมาก่อน หากเรามองเห็นถึงความเป็นไปได้ในการศึกษาขั้นตอนการทำงาน คอยสำรวจตัวเองว่าเราอยู่ตรงไหนของกระบวนการ เราขาดอะไรและเราจะค้นคว้าเพิ่มเติมอย่างไรจะทำให้มองเห็นทางในการพัฒนาตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในที่สุด

เวลา

เวลาเป็นสิ่งที่มีค่า การบริหารจัดการให้ดีเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก แต่จะทำอย่างไรให้เราจัดการได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การนำเครื่องมือจับเวลามาใช้ในการบริหารโครงการออกแบบเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เราเห็นภาพชัดเจนได้มากขึ้นมากกว่าการคาดเดา “จับเวลาเฉพาะในส่วนที่ลงมือทำ ทำอะไร ระบุให้ชัดเจน” ทำอย่างนี้ซ้ำๆ จะทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราลงมือทำไปนั้นอยู่ในขอบเขตของเวลาเท่าไหร่ เราสามารถทำได้เร็วขึ้น หรือเรากำลังเสียเวลาไปเพราะอะไร การบันทึกสถิติ จะช่วยให้เราเกิดความแม่นยำมากขึ้นมากกว่าการคาดเดา

ในการบริหารจัดการโครงการออกแบบ หากเป็นโครงการส่วนตัวเราสามารถจัดการได้ง่ายกว่าการทำงานในระบบทีม ถ้ามีเพียงแค่โครงการเดียวก็อาจจะอยู่ในวิสัยที่พอทำได้ แต่ในการบริหารสตูดิโอขนาดเล็ก เรามีโครงการที่ต้องจัดการในเวลาเดียวกันมากกว่าหนึ่งโครงการซึ่งอาจมีทีมงานที่เกี่ยวข้องทับซ้อนกันอยู่ การสลับตารางอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงานได้ หากเป็นเช่นนั้นเราจะทำอย่างไร?

คอยติดตามข่าวสารอยู่เสมอ

ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารอยู่ใกล้เราแค่เอื้อมมือ การติดตามข่าวสารอยู่เสมอจะช่วยให้เรามองเห็นว่าโลกกำลังเดินไปในทิศทางไหน หากเราต้องการจะพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตนเองด้วยแล้ว การคัดกรองสิ่งที่เหมาะสมกับเราก็มีสำคัญไม่แพ้การรู้เท่าทันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

ในรายงานฉบับหนึ่งได้กล่าวถึงประเภทของนักออกแบบในช่วงปี 2018 ว่าการออกแบบมีอยู่สามประเภทด้วยกันได้แก่ Classical Design, Design Thinking และ Computational Design โดยได้กล่าวว่า

Computational Design คือการที่ผู้ออกแบบมีความเข้าใจในการคำนวน สามารถผสมผสานรูปแบบของ Classical Design และ Design Thinking เข้าไว้ด้วยกัน การคิด วิเคราะห์ และให้ความสำคัญถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทางเทคโนโลยี และกระหายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา

ในการเปรียบเทียบ Classical Design และ Computational Design จะมีความแตกต่างกันดังนี้

เมือเทียบแล้ว Computational Design จะสามารถสื่อสารกับจำนวนผู้รับสารได้มากกว่า ระยะเวลาในการนำเสนอผลงานสู่สาธารณะได้ทันที เมื่อเทียบกับ Classical Design ในขณะที่การทำให้สมบูรณ์แบบจะไม่มีที่สิ้นสุดเพราะ Computational Design จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ต่างจาก Classical Design ตรงที่ผลงานที่สมบูรณ์มีระยะเวลาที่กำหนดชัดเจน โดย Computational Design อาจจะหมายถึงงานออกแบบที่จับต้องไม่ได้ และ Classical Design คืองานออกแบบที่สามารถจับต้องได้

ส่วน Design Thinking ในที่นี้หมายถึง กลยุทธ์ หรือการสร้างกระบวนการ โดยกระบวนการนี้อาจพัฒนาขึ้นโดยนักออกแบบ หรือทีมนักออกแบบ ซึ่งเกิดจากการศึกษากระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับสภาพแวดลองของการทำงานในบริบทนั้น ๆ เป็นต้น

Classical Designer ในมุมมองของ Computational Designer มีความหลากหลายในการออกแบบและเทคโนโลยี อาจหมายถึงการมีอคติกับการคิดแบบเป็นระบบ ความสามารถในการออกแบบวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา

แนวโน้มของเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในงานออกแบบ

ถึงแม้ว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีในทุกวันนี้มีความรวดเร็ว แต่ก็ไม่ได้เร็วเกินกว่าที่เราจะตามไม่ทัน โอกาสในการเกิดขึ้นของการใช้เทคโนโลยีที่มีผลกับการออกแบบสื่อสารในช่วงเวลานี้ ได้แก่

  1. AI และ Machine Learning
  2. Augmented Reality (AR)
  3. Virtual Reality (VR)
  4. Behavior Tracking
  5. 3D Printing
  6. Distributed team and virtual workplace
  7. Algorithmic Design
  8. Facial and voice recognition

ดังที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ได้ใส่ชิ้นส่วนที่สอดคล้องกับการทำงานเข้ามาในอุปกรณ์ที่เราสามารถเป็นเจ้าของได้ง่าย นั่นก็หมายความว่าโอกาสที่เราในฐานะผู้ใช้งาน หรือผู้ออกแบบการสื่อสาร จะใช้สิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ และสอดคล้องกับวิธีในการนำเสนอข้อมูลของเรา

ยกตัวอย่างเช่นการใช้เลขาส่วนตัวอย่าง SIRI หรือ Google Assistance เป็นส่วนหนึ่งของ Machine Learning ที่เชื่อมต่ออยู่กับฐานข้อมูลออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่มากเกินกว่าที่เราจะจิตนาการ ความพยายามในการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนของมนุษย์ เทคโนโลยีสามารถรับใช้มนุษย์ได้ตามความต้องการของเรา เรียนรู้เรา และก็อาจจะมากกว่าที่เรารู้จักตัวเอง อาจจะฟังดูเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่ในทางกลับกันหากเรามีผู้ช่วยที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย คอยทุ่นแรงเราอยู่เสมอ นั่นก็หมายความว่าเราจะสามารถทำในเรื่องที่มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น

กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบ มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเช่น Alibaba ที่มองเห็นความสำคัญในการใช้เทคโนโลยี Machine Learning มาช่วยในการผลิตสื่อโฆษณา ในโลกของธุรกิจ "เวลา" มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นที่รู้กันว่ามนุษย์ไม่อาจประมวลผลได้เร็วเท่าคอมพิวเตอร์ Alibaba Luban หนึ่งในทีมวิจัยจากประเทศจีนได้ผลิตซอฟท์แวร์เพื่อช่วยในการผลิตอาร์ตเวิร์คได้ถึง 400 ล้านชิ้นต่อวัน ผลลัพธ์ที่ได้คือความแม่นยำต่อกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขายสินค้าเป็นต้น

ในมุมมองของผู้เขียนมีความเห็นว่า ในขณะที่มีผู้ที่ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการจัดการข้อมูลเพื่อการประมวลผลในการสร้างสรรค์งานออกแบบให้มีความแม่นยำและล้ำสมัยมาก งานออกแบบที่มีความละเอียดอ่อนก็สามรถนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกันได้เช่นกัน การรู้เท่าทันและนำมาประยุกต์ใช้จึงเป็นสิ่งที่เราควรจะพิจารณาเพื่อให้เราพัฒนาทักษะของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แล้วต่อไปในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

สำหรับนักวิจัย สิ่งที่ควรจะพิจารณาทั้งในเชิงทักษะและหลักเกณฑ์คือ ทักษะของการสื่อสาร การตั้งคำถามที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่าเรื่อง เรียนรู้ทักษะอื่นๆให้มาก สังเกตุการณ์และฟังให้มาก ศึกษาในเชิงจิตวิทยาและพฤติกรรมของมนุษย์

สำหรับนักออกแบบ ควรมีทักษะในการสื่อสารที่ดี การบริหารธุรกิจ การวางกลยุทธ์และการจัดการภายในสตูดิโอ เรียนรู้ที่จะออกแบบวิธีการหารายได้ ศึกษาเรื่องการออกแบบบริการและการจัดการรวมถึงงานระบบ ทักษะในการจัดการ การตั้งคำถามที่ดี เข้าใจผู้ใช้ปลายทาง มีทักษะในการเล่าเรื่องที่ดี มีทักษะอื่นๆที่ไม่ใช่งานออกแบบ สังเกตุการณ์และฟังให้มาก ศึกษาในเชิงจิตวิทยาและพฤติกรรมของมนุษย์

โทรศัพท์มือถือจะมีมาตรฐานที่สูงขึ้น

ในเรื่องของความเร็ว การประมวลผล หรือเซนเซอร์ที่ติดตั้งมาในอุปกรณ์การใช้งานของเรา

การประมวลผลและการเปรียบเทียบค่าเพื่อให้เกิดประสบการณ์ใหม่

ตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงค่าเสียง หรือการจดจำใบหน้าและเปรียบเทียบ อาจช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานมากขั้นในการเข้าถึงข้อมูล

Augmented Reality / Virtual Reality

เพื่อการพัฒนา ฝึกฝนในสิ่งที่ลงมือทำได้ยาก ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Artificial Intelligence

การเรียนรู้ของเครื่องจักร โดยมีจุดประสงค์ในการทำความเข้าใจมนุษย์ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการช่วยเหลือ ทุ่นแรงต่อไปในอนาคต

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ไม่ได้เป็นการคาดการณ์ถึงอนาคตที่กำลังจะมาถึง หากแต่เป็นสิ่งที่เรากำลังอยู่กับมันในทุกวินาที ดังนั้นสิ่งที่สำคัญของเราคือการสำรวจตัวเอง รู้เท่าทัน และการปรับใช้เพื่อให้เราพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น

Digital scent technology

การออกแบบกลิ่นเพื่อให้ประสบการณ์ทั้งหมดครบถ้วนทั้งรูป รส กลิ่น เสียง ซึ่งได้มีการพัฒนามายาวนานหลายสิบปี ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถส่งกลิ่นเพื่อสร้างประสบการณ์พิเศษให้กับคนที่ใช้งานผ่านทางหน้าจอ เว็บไซต์ เกมส์ เป็นต้น